top of page

Fast Fashion

ที่ใดมีรักที่นั่นก็ย่อมมีทุกข์ แฉกเช่นเดียวกับ ที่ใดมีของsaleที่นั่นย่อมต้องมีผู้หญิง ของsale ส่วนมากแล้วเกิดจากเจ้าของแบรนด์อยากจะเคลียร์collectionเดิมออกไปให้หมด และแต่ละcollectionก็มักจะมีอายุไม่เกินกว่า 3เดือน(ถ้านับตามฤดู เช่น spring summer เป็นต้น) แต่บางอย่างก็ออกมาเฉพาะแต่ละเทศกาลเท่านั้น ใช่ค่ะ Life cycle ของบรรดาเสื้อผ้านั้นสั้นมาก เราก็จะเห็นเทรนด์เป็นแบบ "Fast Fashion" แล้ว Fast Fashion ที่ว่านั้น คืออะไร ลูกเพจที่น่ารักของแม่ค้าสามารถติดตามอ่านคอนเท้นท์ดีๆของ waymagazine ได้ที่นี่เลยค่ะ

https://waymagazine.org/fast-fashiontolandfill/

"เรากำลังอยู่ในยุคที่เรียกว่า “Fast Fashion”

บรรดาผู้ประกอบ ผู้ผลิตและแบรนด์ต่างๆ ปล่อยเสื้อผ้าคอลเลคชั่นใหม่ออกมาทุกสัปดาห์ หรือปีละ 52 คอลเลคชั่น เพื่อให้กระตุ้นให้ผู้ซื้อ ซื้อให้เร็วที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการตั้งราคาให้ต่ำลงตามคุณภาพการผลิต

เมื่อซื้อใหม่แทบจะทุกสัปดาห์ เช่นนั้นแล้วปลายทางของเสื้อผ้าคอลเลคชั่นเก่าๆ คือการบริจาค โดยเฉพาะการบริจาคให้องค์กรการกุศล หรือการโละทิ้ง ซึ่งจะมีร้านเสื้อผ้ามือสองมารับต่อไปขายต่อในราคาย่อม และบางตัวก็อาจจะไปจบลงที่หลุมขยะชนิดฝังกลบทั้งๆ ที่เจ้าของเดิมเพิ่งใส่ไปได้แค่ 1-2 ครั้ง

อลิซาเบธ ไคลน์ เจ้าของหนังสือ Overdressed: The Shockingly High Cost of Cheap Fashion ให้ข้อมูลว่า แบรนด์ขวัญใจสาวๆ อย่าง H&M ผลิตเสื้อผ้าหลายร้อยล้านชิ้นต่อปี ขณะที่คนอเมริกันส่วนใหญ่ทิ้งเสื้อผ้า 68 ปอนด์ต่อปี ตัวเลขนี้ไม่รวมการบริจาคเสื้อผ้าหรือการขายให้กับร้านเสื้อมือสอง แต่คือน้ำหนักเสื้อผ้าที่ลงถังขยะแล้วจบลงที่หลุมฝังกลบขยะประจำเมือง

ขาขึ้นของร้านขายเสื้อมือสอง

ใครๆ ก็ชอบเสื้อผ้าใหม่ ข้อมูลจาก Council for Textile Recycling เผยว่า แต่ละปีจะมีเสื้อผ้าออกใหม่ รวมกันแล้วหนักราวๆ 25 พันล้านปอนด์ ในจำนวนนี้ ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ ปลายทางคือหลุมฝังกลบขยะ ส่วนอีก 15 เปอร์เซ็นต์จะบริจาคไปยังหน่วยบรรเทาสาธารณภัยกับขายต่อให้ร้านขายเสื้อผ้ามือสอง

ร้านค้าแห่งหนึ่งของหน่วยบรรเทาสาธารณภัยในกรุงนิวยอร์คได้รับเสื้อผ้าถึงวันละ 5 ตันในปี 2012 ส่วนปีที่แล้ว ทิม เรนส์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของหน่วยบรรเทาสาธารณภัย เผยว่า ได้รับบริจาคเสื้อผ้ารวมกันทั้งหมดกว่า 80 ล้านปอนด์

จำนวนเสื้อผ้าบริจาคมีมากกว่าสัดส่วนที่ร้านเสื้อผ้ามีสองต้องการ นั่นแสดงถึงปริมาณของเสื้อผ้าที่เบื่อแล้ว แต่ก็ยังใส่ได้อยู่ ธุรกิจแฟชั่นได้สร้างวิถีบริโภคหรือซื้อเสื้อผ้าขึ้นมาใหม่คือ ใส่ครั้งเดียวทิ้งเสื้อผ้าหลายตัวในตระกร้าบริจาคจึงยังเป็นของคอลเลคชั่นใหม่ หรือ คอลเลคชั่นที่เพิ่งหมดฤดูกาลไป

“ร้านเสื้อผ้ามือสองที่กระจายไปทั่วในสหรัฐอเมริกาสะท้อนให้เห็นภาวะการบริโภคที่มากเกินไป ” ซูซาน ชอย ผู้ก่อตั้งและดูแลร้าน Etsy ที่ขายสินค้าวินเทจให้สัมภาษณ์ “การหาเสื้อผ้าที่ยังอินเทรนด์ 1 ปีหรือ 2 ปีแล้วได้ร้านเสื้อผ้ามือสองเป็นเรื่องปกติมาก และที่สำคัญหาได้ในปริมาณมากด้วย”

บางทีเราอาจยับยั้งชั่งไม่ได้ ด้วยราคาที่แสนจะถูก

ย้อนกลับไปในปี 1901 เจ้าของกิจการทั่วไปใช้งบประมาณประจำปีประมาณเพียง 14 เปอร์เซ็นต์ ไปกับการผลิตเสื้อผ้า และปัจจุบันอาจจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแค่ 3 เปอร์เซ็นต์

ตัวเลขดังกล่าวอาจทำให้หลายๆ คนไม่รู้สึกผิดที่จะซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่แทนการซ่อม ปะ ชุน หรือใส่เสื้อตัวเก่าๆ แทน

ส่งผลให้ระหว่างปี 1900-2003 ช่างตัดเย็บในสหรัฐอเมริกาลดจำนวนลงจาก 230,000 คน เหลือเพียง 21,400 คน

อีริค มาร์ติเนซ จากร้านเสื้อผ้ามือสอง ARC เผยว่า จากการได้ปริมาณเสื้อผ้ามือสองเยอะขนาดนี้ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย “ทางหนึ่งก็เป็นการกระตุ้นวงจรแฟชั่น แต่อีกทางก็เป็นการเพิ่มขยะ”

ในจำนวนเสื้อผ้าที่บริจาคให้องค์กรการกุศล หรือร้านค้ามือสอง มีมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ที่ถูกเรียกคืนสินค้าเพื่อนำสิ่งทอไปรีไซเคิล แต่บางส่วนก็จะกลายเป็นขยะ และมีจุดจบที่หลุมฝังกลบขยะเพราะเสื้อผ้าทุกวันนี้ส่วนใหญ่มีส่วนผสมของเส้นใยสังเคราะห์จากปิโตรเลียม ซึ่งต้องใช้เวลาหลายสิบปีในการย่อยสลาย

แต่อย่างน้อยที่สุด การบริจาคเสื้อผ้าชิ้นเก่าหรือชิ้นเบื่อ ก็เท่ากับได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจร้านเสื้อผ้ามือสอง หรืออย่างน้อยที่สุด องค์กรสาธารณกุศลต่างๆ ก็อาจจะได้กำไรเล็กๆ น้อยๆ จากการขายเสื้อผ้าเหล่านี้ แล้วนำเงินดังกล่าวส่งต่อไปยังผู้คนที่ขาดแคลนจริงๆ

แฟชั่นรุ่นล่าสุดแข่งกับร้านเสื้อผ้ามือสอง

ข้อมูลจากกรมการค้าและพาณิชย์แห่งสหรัฐอเมริกา ปี 2013 ระบุว่า สหรัฐอเมริกาส่งออกเสื้อผ้ามือสองประมาณ 860,000 ตันไปยังหลายๆ ประเทศ โดยเสื้อผ้าทั้งหมดจะถูกแพ็คในกล่องขนาดใหญ่ แยกประเภทตามสภาพและขายตามตลาด

เจ้าของร้านเสื้อผ้ามือสองรายหนึ่งกล่าวว่า บรรดาเสื้อผ้าคอลเลคชั่นตกรุ่น ที่ทะลักกันเข้ามา ช่วยให้พวกเขายังอยู่ในสายตาผู้บริโภค แต่เมื่อลูกค้าสามารถซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่ได้ หรือคอลเลคชั่นที่ทันสมัยกว่าแถมติดป้ายราคาด้วยตัวเลขพอๆ กัน คำถามก็คือ แล้วคนจะไปร้านเสื้อผ้ามือสองทำไมล่ะ

Fast Fashion หลายแบรนด์ มักจะจบลงที่กระบะลดราคาสินค้า หรือ โกดังสินค้าลดกระหน่ำ โดยเฉพาะแบรนด์ค้าปลีกอย่าง Forever 21 ที่มักจะจัดโปรโมชั่นแข่งราคากับร้านเสื้อผ้ามือสองเป็นระยะๆ ด้วยข้อเสนอ ชอปเท่าไหร่ก็ได้ในกระเป๋า 1 ใบ สนนราคาต่อครั้งอยู่ที่ 25 ดอลลาร์

อลิซาเบธ ไคลน์ เจ้าของหนังสือ Overdressed: The Shockingly High Cost of Cheap Fashion ทิ้งท้ายว่า ไม่ว่าผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตจะคิดอย่างไร แต่ความคิดเรื่องเสื้อผ้าของผู้บริโภคจะต้องเปลี่ยน

“ไม่ว่าร้านเสื้อผ้าจะอยู่ที่ไหน หรือถึงมันจะเป็น H&M กุญแจสำคัญอยู่ที่การไม่คิดว่าเสื้อผ้าคือสินค้าที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพราะเสื้อผ้ามีวงจรชีวิตของมันและเราต้องรับผิดชอบเสื้อผ้าที่เราซื้อมา”

****************************************

(ข้อมูลจาก Huffingtonpost.com)

author : ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page